2.3 ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก

ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก Stair Tread Steel Grating

        ตะแกรงเหล็กแผ่นเชื่อมสำเร็จรูปชุบกันสนิมของแชนคอน ใช้เหล็กบิดเกลียว twist rod กันลื่น เชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันกับ เหล็กแผ่น Flat bar ด้วยระบบ CO2/MIG ซึ่งเป็นการ เชื่อมด้วยไฟฟ้าทำให้เนื้อเหล็กหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน โปรดตรวจสอบงานเชื่อมเพื่อเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคน รับประกันผลงานคุณภาพ ทั้งด้านความแข็งแรง ขนาดช่องรูเล็กที่มีรอยเชื่อมได้มาตรฐานเหมือนกันทุกจุด ตลอดจนงานชุบซิงค์กันสนิมหนากว่า 75 ไมครอน ทำให้แข็งแรงและทนทานต่อการสึกกร่อนได้นานกว่า

 

บริการ คุณภาพสินค้า ตะแกรงเหล็กแผ่นเชื่อมชุบทนสนิม จากบริษัทแชนคอน

  1. ขนาดมาตรฐานที่มีสต๊อคพร้อมรับได้แก่ ความกว้างตั้งแต่ 20-60ซม. ยาว 1 เมตร มีทั้งแบบให้คนเดินหรือ รับแรงรถบรรทุกวิ่งผ่าน
  2. คัดเลือกวัสดุในการผลิตจาก เหล็กกล้าเกรด A ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.
  3. ระบบเชื่อมหลอมเป็นเนื้อเดียวกันทุกด้าน ยึดติดแข็งแรงกว่า ด้วยออโตเมติคระบบ CO2/MIG
  4. เคลือบผิวชุบสังกะสีทนสนิม Hot dip Galvanizing หนา 75 ไมครอน
  5. ใช้เหล็กบิดเกลียว Twisted Rod เพื่อผสานเหล็กแผ่นเข้าด้วยกันอย่างแข็งแรง ลดการลื่นไถล
  6. มีรุ่นช่องรูเล็ก เพิ่มความแข็งแรง ประหยัดงบในการผลิต รถบรรทุกใหญ่วิ่งผ่านได้ ไม่ต้องเพิ่มความหนาความสูงของเหล็กแผ่น
  7. ขนาดมาตรฐาน สามารถนำมาเชื่อมต่อกันหรือใช้คลิ๊ปล็อคหลายๆแผ่นเข้าด้วยกัน ทำแผ่นพื้นยกระดับขนาดใหญ่ โดยไม่ต้องใช้แผ่นใหญ่พิเศษ
  8. ขนาดความกว้างตั้งแต่ 25 และ 30ซม. ยาว 1 เมตร มีสองรุ่นทั้งแบบมาตรฐานและหนาพิเศษ เพื่อให้คนเดินหรือ รับแรงรถบรรทุกวิ่งผ่าน
  9. ทุกรายการที่เป็นขนาดมาตรฐานมีสต๊อคพร้อมรับได้ทันที รับประกันคุณภาพสินค้า 1 ปี
  10. สามารถใช้ตะแกรงสำเร็จรูปไปทำตะแกรงขั้นบันได หรือนำหลายชิ้นไปต่อกันเป็นแพล็ทฟอร์มแผ่นพื้นยกระดับ

       ตะแกรงขั้นบันไดเหล็กแผ่นเชื่อมชุบกันสนิม พร้อมปิดผิวจมูกบันไดกันลื่นด้วยแผ่นลายตีนเป็ดเช็คเกอร์เพลท มีฐานด้านข้างเจาะรูให้ปรับระดับยึดได้กับฐานของโครงสร้างบันไดโดยไม่ต้องเชื่อม ใช้เหล็กบิดเกลียว twist rod กันลื่น เชื่อมเป็นเนื้อเดียวกันกับ เหล็กแผ่น Flat bar ด้วยระบบ CO2/MIG ซึ่งเป็นการ เชื่อมด้วยไฟฟ้าทำให้เนื้อเหล็กหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ชุบซิงค์กันสนิมหนากว่า 75 ไมครอน

  1. ราคาที่นำเสนอข้างต้น ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าจัดส่ง (เป็นราคามารับเองที่โรงงาน) / Price shown excluded VAT and Delivery

  2. ทุกรายการข้างต้นในตารางไม่มีสต๊อคสินค้า แต่เป็นรุ่นมาตรฐานที่บริษัทแชนคอนเคยผลิตให้ลูกค้า สามารถผลิตได้เร็ว หลังจากมัดจำใช้เวลาในการสั่งผลิตประมาณ 15-21 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ / No stock for ladder steel table above, Production in 3 weeks after deposit

  3. ขนาดพิเศษนอกเหนือจากตาราง เช่น ปรับเฉพาะความสูงของบ่า ทำเป็นผิวรอยหยักฟันปลา ขนาดกว้างยาวแบบพิเศษ สามารถส่งข้อมูลรายละเอียดการสั่งผลิตเฉพาะ เข้ามาที่ Line@, Email ตามหน้าเวบไซท์ / Made-to-Order of special size/spec are welcome

        ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นตะแกรงธรรมดาเหมือนตะแกรงระบายน้ำทั่วไปไม่มีจมูกบันไดกันลื่น หรือแบบมีจมูกกันลื่นแต่ไม่มีฐานด้านข้างปรับระดับยึดได้ หรือมีจมูกบันไดกันลื่นแบบรอยหยักฟันปลา หรือจมูกบันไดกันลื่นแบบใส่แผ่นเหล็กลายตีนเป็ดเช็คเกอร์เพลท หรือใส่เหล็กแนวขวางกันลื่น หรือใส่แผ่นจมูกบันไดกันลื่นไฟเบอร์กล๊าสเฉพาะจมูกหรือครอบทั้งแผ่นบันได

        ตัวอย่างการสั่งผลิต ตะแกรงขั้นบันไดแบบ ติดผิวกันลื่นลายตีนเป็ด(Cherker Plater Surface) พร้อมฐานด้านข้างปรับระดับการยึดได้(End Plate) ขนาด 200x800mm.   ใช้เหล็กแผ่น FB255@30 (สูง 25mm. หนา 5mm. ช่องรู 30mm.)   เหล็กแผ่นด้านข้างไว้ยึดติดกับโครงสร้างบันไดและปรับระดับขนาด 65x5mm.

ตัวอย่างรูปตะแกรงขั้นบันไดแบบ ใส่แผ่นจมูกบันไดกันลื่นไฟเบอร์กล๊าส ทั้งแบบมีฐานและไม่มีฐานด้านข้างปรับระดับการยึดได้(End Plate)

ตัวอย่างรูปตะแกรงขั้นบันไดแบบ ผิวรอยหยักฟันปลา(Serrated Non-skid Surface) ทั้งแบบมีฐานและไม่มีฐานด้านข้างปรับระดับการยึดได้(End Plate)

      #เกรตติ้งไทยโรงงานผู้ผลิตและจำหน่าย #ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก #บันไดเหล็กสำเร็จรูป #เกรตติ้งเหล็ก #ตะแกรงขั้นบันได #ลูกบันไดเหล็ก #ตะแกรงเหล็กฝาท่อระบายน้ำ #ฝารางระบายน้ำ #ตะแกรงเหล็กครอบท่อ #ตะแกรงเหล็กฝาท่อ #ฝาตะแกรงเหล็กรางระบายน้ำ #ตะแกรงเหล็กฝาปิดท่อระบายน้ำ #ฝาตะแกรงเหล็กบ่อพักท่อระบายน้ำ #ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก #ตะแกรงเหล็ก #ตะแกรงปิดฝาท่อ #ตะแกรงท่อระบายน้ำ #ตะแกรงเหล็กแผ่นเชื่อมชุบสังกะสีทนสนิม
        #StairTreadSteelGrating #LadderSteelStairs #IndustrialSteelStaircase #Grating #SteelGrating #SteelGratingStandardSizes #GratingPlate #BarGratingSteel #MildSteelGrating #GalvanizingSteelGrating #StailessGrating #SteelBarGrating #CarbonBarSteelGrating #StairTreadSteelGrating #HeavyDutyTrenchDrainGrates #HDGWeldedSteelFlatBarGrating #GratingStairTreads #CustomSizesGrates #HdgWeldedSteelFlatBarGrates #WeldingCARBONFlatBarSTEELGRATING #PlainSerratedSteelGrating

        Drawing of Stair Tread Steel Grating แบบร่างดรอว์อิ้งสั่งผลิต ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก พร้อมจมูกบันไดกันลื่น มีฐานด้านข้างปรับระดับยึดได้

ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก (Stair Tread Steel Grating) หน้ากว้าง 20 ซม.
ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก (Stair Tread Steel Grating) หน้ากว้าง 25 ซม.
ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก (Stair Tread Steel Grating) หน้ากว้าง 30 ซม.

        การทำขั้นบันไดเหล็กและชานพักขั้นบันได สามารถใช้ตะแกรงเหล็กมาตรฐานของบริษัทแชนคอน ซึ่งมีสต๊อคพร้อมรับสองขนาด ได้แก่ ขนาด 25x100cm และ ขนาด 30x100cm ไปใช้ติดตั้งเชื่ีอมเข้ากับโครงบันไดได้ทันทีและรวดเร็ว โดยลูกค้าสามารถเลือกใช้ขนาดมาตรฐานทำขั้นบันไดและชานพักโดยออกแบบให้กว้างพอดีกับขนาดมาตรฐาน หรือนำไปตัดปลายเล็กน้อยแล้วเชื่อมให้เข้ากับโครงสร้างบันได ก็จะทำให้งานเสร็จรวดเร็วและง่ายดายเช่นกัน

      ไอเดียการประยุกต์นำตะแกรงเหล็กแผ่นเชื่อมสำเร็จรูปของบริษัทขนาด 25x100cm. หรือ 30x100cm. ไปเชื่อม วางบนฐานของโครงสร้างบันได โดยไม่ต้องมีเหล็กฉากเป็นกรอบทั้งสี่ด้าน แต่ต้องใช้ความหนา 5 มิล เพื่อให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะมีบ่าสองข้างที่ซ้ายขวาเท่านั้น โดยใช้วิธีการเชื่อมยึด หรือ ใช้คลิปล็อคยึดติด ด้วยวิธีทำฐานโครงสร้างบันไดรองแผ่นตะแกรงเหล็กทั้งสองข้าง แล้วเจาะยึดด้วยคลิปล็อคระหว่างฐานรองกับแผ่นตะแกรงเหล็ก หนึ่งแผ่นขั้นบันไดใช้ตัวคลิปล็อค 2 ชิ้น ด้วยวิธีการล็อคแต่ละขั้นบันไดสามารถปรับระยะซ้ายขวา หน้าหลังได้อีก

      ทำโครงเหล็กฉากรองสี่ด้าน ใช้แผ่นตะแกรงเหล็กขนาดมาตรฐานวาง แล้วเชื่อมยึดติดกัน ในรูป เป็นตะแกรงเหล็กแผ่นเชื่อมชุบฮ็อทดิ๊ปกัลวาไนซ์ ขนาด 25x100cm หนา 3มม. สูง 25 มม. (ตะแกรงเดิมเป็นสีบร๊อนซ์เงิน จุ่มร้อนฮ็อทดิ๊ปกันสนิม แต่นำมาพ่นเคลือบสีดำทับเพื่อปรับการตกแต่งให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ได้ )

      ไอเดียการประยุกต์นำตะแกรงเหล็กแผ่นเชื่อมสำเร็จรูปชุบกัลวาไนซ์ ขนาด 25x100cm. หรือ 30x100cm. ไปวางบนฐานของโครงสร้างบันได โดยเลือกใช้ตะแกรงเหล็กหนาเพียง 3 มมม. แต่ใช้เหล็กฉากวางรองสี่่ด้านเพื่อกระจายการรับน้ำหนักของแผ่นขั้นบันได้ได้อย่างปลอดภัย

      การใช้ตะแกรงไฟเบอร์กล๊าสทำเป็นขั้นบันไดแทนตะแกรงเหล็ก ไปวางบนฐานของโครงสร้างบันได โดยใช้คลิปล็อคยึดติด ด้วยวิธีทำฐานโครงสร้างเหล็กฉากรองแผ่นตะแกรงไฟเบอร์กล๊าสทั้งสองข้าง แล้วยึดด้วยคลิปล็อคโดยเฉพาะ หนึ่งแผ่นขั้นบันไดใช้ตัวคลิปล็อค 2-4 ชิ้น ขึ้นอยู่กับความกว้างของขั้นบันได้หรือชานพัก

      ไอเดียการประยุกต์นำตะแกรงระบายน้ำพลาสติกพีพีสำเร็จรูปของบริษัทขนาด 25x100cm. หรือ 30x100cm. ไปวางบนฐานของโครงสร้างบันได ด้วยวิธีทำฐานโครงสร้างบันไดรองแผ่นตะแกรงเหล็กทั้งสองข้าง

      แผ่นเกรตติ้งตะแกรงพลาสติกรางระบายน้ำ Plastic Grating Panel สิทธิบัตรการออกแบบเฉพาะของแชนคอน เหมาะใช้งานในพื้นที่ต้องสัมผัสเปียกชื้นหรือแช่ในน้ำ ไม่เป็นสนิม มีการใส่สารป้องกันเชื้อรา เพิ่มสารป้องกันรังแสงยูวี(ทนทานกลางแดด) รับน้ำหนักสูงเหนียวแข็งแรง ผลิตจากพลาสติกพีพีเกรด AA คุณภาพสูงชนิดเหนียวแข็งแรงพิเศษ PP(โพลีพรอพไพลีน) เป็นตะแกรงร่องรูช่องเรียวเล็ก ผิวกันลื่น ขนาดของรูตะแกรง(Mesh size) เพียง 1.5 x 3 cm. เล็กกว่าตะแกรงระบายน้ำล้นรอบสระทั่วไป จึงใช้เป็นตะแกรงฐานวางกรวดหินในงานจัดสวนบ่อน้ำพุได้ดี และสามารถดักเศษขยะใบไม้ ติดตั้งง่าย สั่งตัดให้เข้ากับบ่ารางระบายน้ำที่ทำไว้แล้วได้ น้ำหนักเบา 2.5 กิโลกรัม/แผ่น แต่ละแผ่นมีตัวล็อคสำหรับเชื่อมต่อกับแผ่นอื่นๆได้ ผิวกันลื่น ไร้รอยต่อ ใช้เป็นทั้งแผ่นปูพื้นทางเดินยกระดับ หรือใช้ทดแทนตะแกรงระบายน้ำล้นรอบขอบสระว่ายน้ำรุ่นเก่า หรือใช้ในครัว ตลาดนัด โรงอาหาร บ่อน้ำพุ

    ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก พร้อมจมูกบันไดกันลื่น มีฐานด้านข้างปรับระดับยึดได้ HDG. Steel Grating Ladder Stair Tread

# ตะแกรงขั้นบันไดเหล็ก Stair Tread Steel Grating

        เหล็กและเหล็กกล้าเกิดสนิมได้ง่ายหากเราวางทิ้งไว้ในอากาศปกติทั่วไป เนื่องจากเกิดการทำปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนและไอน้ำกับเนื้อเหล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลอไรด์ (chloride) ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนเหล็กได้ดี เกิดเป็นสนิมออกไซด์ของเหล็ก ดังนั้นการเคลือบผิวเหล็กจึงเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันการเกิดสนิม สังกะสีเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นสารเคลือบ เพราะในอนุกรมกัลวานิกสังกะสีเป็นโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าเหล็ก จึงเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ง่ายกว่า ถ้าทำการเคลือบชิ้นงานด้วยสีแล้วสีเคลือบเกิดการหลุดลอก ชั้นเหล็กจะถูกกัดกร่อนได้ง่ายกว่าชิ้นงานที่เคลือบด้วยสังกะสี ซึ่งลักษณะการใช้โลหะที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำเกิดปฏิกิริยากัดกร่อนแทนโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้าสูงเรียกว่า การป้องกันแบบแคโทดิก (cathodic protection) เหล็กที่ได้จากการชุบเคลือบสังกะสีเรียกว่า เหล็กกล้าชุบเคลือบสังกะสี (galvanized steel)โดยปัจจุบันกระบวนการเคลือบสังกะสีได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า
        การชุบเคลือบสังกะสีมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (hot dip galvanizing) การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า (electrogalvanizing) การเคลือบด้วยวิธีทางกล (mechanical coatings) การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน (zinc spraying) การทาด้วยสีฝุ่นสังกะสี (zinc-rich paints) การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง (continuous hot dip galvanizing) การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง (sherardizing)

      วิธีการชุบมีหลายแบบ ในประเทศไทยการชุบกัลวาไนซ์ที่นิยมมี 2 แบบ คือ

1.Hot dipped Galvanized หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน การชุบแบบนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความทนทานสูง งานภายนอก งานที่อยู่สภาพแวดล้อมรุนแรง มีสภาวะกรดด่างโดยรอบ การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Galvanizing) มีวิธีการโดยนำชิ้นงานที่จะชุบเคลือบไปแช่ในอ่างสังกะสีหลอมเหลว (อุณหภูมิประมาณ 435 – 455 ๐C) เป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 นาที (ความหนาของชั้นสังกะสีจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการจุ่มแช่ ส่วนผสมทางเคมีของอ่างโลหะสังกะสี และสิ่งเจือปนที่อยู่ในเนื้อเหล็ก)
      การเคลือบผิว โดยการชุบ Hot-Dip Galvanized แบบนี้ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพง สะดวก อายุการใช้งานนานกว่าทุกชนิดของการเคลือบผิว และเป็นที่ยอมรับในงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้งานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2.Electro plated Galvanized หรือการชุบซิงค์ คือการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า การชุบแบบนี้เหมาะกับการใช้งานในร่ม หรือองค์ประกอบที่ไม่สัมผัสสภาวะแวดล้อมรุนแรงมาก มีความหนาในการชุบ 5-10 ไมครอน

        Galvanized steel is steel that has gone through a chemical process to keep it from corroding. The steel gets coated in layers of zinc oxide because this protective metal does not get rusty as easily. The coating also gives the steel a more durable, hard to scratch finish that many people find attractive. For countless outdoor, marine, or industrial applications, galvanized steel is an essential fabrication component.
        ข้อดีของการชุบกัลวาไนซ์นั้น จะช่วยให้เหล็กไม่เกิดสนิมได้ง่ายหรือเกิดผุกร่อนก่อนถึงเวลาอันควร ป้องกันการเสื่อมสภาพจากการโดนของเหลว หรือเกิดความชื้นกัดกร่อน มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าการเคลือบผิวชนิดอื่น ๆ รวมถึงยังใช้ต้นทุนไม่แพงอีกด้วย สำหรับกรรมวิธีการเคลือบกัลวาไนซ์นั้น มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน,การเคลือบด้วยวิธีทางกล, การทาด้วยสีฝุ่นลงบนสังกะสี, การเคลือบด้วยเทคนิคเชอร์ราไดซ์ซิ่ง, การชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง, วิธีการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน หรือ การเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้า ซึ่งวิธีการเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้านั้น เป็นกระบวนที่ใช้ค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในบรรดากรรมวิธีทั้งหมด โดยวิธีนี้จะเป็นการทำให้เหล็กมีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าบริเวณโดยรอบ ซึ่งจะทำให้มวลเหล็กไม่สูญเสียอิเลกตรอนในตัว เมื่อกระทบกับสภาพอากาศ และไม่เกิดสนิมขึ้น

วิธีการ ขั้นตอน การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน หรือ ฮอทดิ๊พกัลวาไนซ์ (Hot-Dip Galvanized)

เป็นการป้องกันผิวของเหล็กไม่ให้เกิดออกไซด์ หรือเกิดสนิมขึ้น เมื่อเจอกับความชื้นในอากาศ ส่งผลให้อายุการใช้งานของเหล็กนานกว่า เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับความชื้น หรือการกัดกัดกร่อนของอากาศ เช่น งานโครงสร้างสำหรับติดตั้งนอกอาคาร (Outdoor) เป็นต้น

    กระบวนการชุบ Hot-Dip Galvanized นั้นมีกระบวนการดังนี้

1. การเตรียมงานเหล็ก ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะหากศึกษาหรือวางแผนงานเหล็กไม่ดีพอ อาจจะทำให้ไม่สามารถชุบ Hot-Dip Galvanized ได้ เช่น ชิ้นงานเมื่อทำเสร็จแล้วมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะลงชุบในบ่อชุบได้หรือหากชุบได้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีกหากไม่ระวัง เช่นการมีสีติดชิ้นงานทำให้ต้องเสียค่าเผาสีเพิ่มจากค่าชุบกัลวาไนซ์ เป็นต้น

2. การทำความสะอาดผิว (Surface Cleaning) ก่อนทำการชุบสังกะสี สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชิ้นงาน
      1) การล้างด้วยน้ำเพื่อขจัดเศษฝุ่น (Rinsing) หรือผงต่างๆ ออกจากชิ้นงาน ใช้สำหรับชิ้นงานธรรมดาที่ไม่ต้องเตรียมผิวพิเศษใดๆ
      2) การพ่นทราย (Blast) สำหรับชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดของผิวชุบ หรือกรณี Re-galvanize ทั้งนี้การพ่นทรายจะทำให้ผิวของชิ้นงานละเอียด และเมื่อชุบแล้วจะให้ผิวชุบที่ดี ทั้งนี้ในบางครั้งการพ่นทรายสามารถแก้ปัญหาชิ้นงานที่มีปัญหาเรื่องผิวได้ เช่น ชิ้นงานมีสนิมเกรอะกรัง หรือมีสีติดมา
      3) การเผาผิวของชิ้นงาน (Burn) สำหรับชิ้นงานที่มีสีติดมาต้องขจัดออกโดยการเผาสีด้วยความร้อน เนื่องจากไม่มีกระบวนล้างใดๆที่สามารถเอาสีออกได้ (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการ ชุบกัลวาไนซ์)
      4) การล้างด้วยกรด (Pickling) ในกรณีที่ชิ้นงานมีการชุบ Galvanized หรือ Zinc มาก่อนแล้ว จะทำให้ไม่สามารถชุบงานได้ ทั้งนี้จะต้องมีการล้าง Galvanized หรือ Zinc ออกจากผิวของชิ้นงานก่อนจึงจะสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการชุบขั้นตอนต่อไปได้

3. การล้างด้วยกรดรุนแรง (Pickling) เมื่อเตรียมผิวชิ้นงานให้สามารถชุบได้แล้ว จะต้องนำชิ้นงานมาล้างด้วยกรดเข้มข้นอีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อการกัดสนิมขนาดเล็กที่เกาะตามผิวของชิ้นงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานขั้นต่ำ 3 ชม. ในกรณีที่ผิวของชิ้นงานมีปัญหา อาจต้องล้างด้วยกรดเป็นระยะเวลา 24 – 48 ชม.หรือนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพชิ้นงาน(อาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากชิ้นงานมีสภาพผิวที่ไม่ปกติ) หรือต้องนำไปเตรียมผิวใหม่อีกครั้ง

4. การชุบน้ำยาประสาน (Fluxing) เมื่อล้างด้วยน้ำกรดเสร็จแล้ว จะต้องนำชิ้นงานมาชุบน้ำยาประสาน (Flux) ทั้งนี้เพื่อให้ชิ้นงานยึดติดกัลวาไนซ์ได้ดี

5. การชุบ Hot-Dip Galvanized หลังจากชุบด้วยน้ำยาประสานเสร็จแล้ว จะต้องชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน (Hot-Dip Galvanized) ทันที ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอุณหภูมิประมาณ 430-460 องศาเซลเซียสโดยการชุบกัลวาไนซ์ แบ่งกรรมวิธีหลังการชุบได้ดังนี้
      – การเขย่า หรือเหวี่ยงทันที ใช้สำหรับงานพวกน็อต สกรู หรืองานขนาดเล็ก
      – การชุบแบบธรรมดาโดยไม่ต้องเขย่าใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ทั่วไป

6. การตกแต่งผิวงาน( Finishing) เพื่อให้สภาพผิวมีความสวยงามอาจมีการขัดด้วยตะไบหรือเจียร์ออกหาพบการย้อยหรือมีสังกะสีที่หนาเกินไป

7. การครวจสอบความหนาก่อนส่งมอบงาน(Inspection and Assurance) จะต้องสุ่มตรวจความหนาของสังกะสีด้วยเครื่องตรวจสอบความหนาพร้อมการตรวจสภาพผิวก่อนส่งมอบเพื่อเป็นการยืนยันได้ว่าตรงตามความต้องการของลูกค้า

      ความแตกต่างระหว่างชุบกัลวาไนซ์ กับชุบสังกะสี ความแตกต่างระหว่างชุบกัลวาไนซ์กับชุบสังกะสี(Hot-dipped Galvanized vs electro plated galvanized)

      ความจริงแล้วการชุบกัลวาไนซ์คือชุบฮอตดิบกัลวาไนซ์ หรือการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dipped Galvanized) แต่คนทั่วไปมักเรียกว่าชุบกัลวาไนซ์หรือกาวาไนซ์ มีความหนาประมาณ 65 – 300 ไมครอน(ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าและเงื่อนไขอื่นๆจากการจุ่มร้อน) วิธีนี้มักใช้กับงานที่ต้องการการปกป้องจากการเกิดสนิมในสภาพกลางแจ้ง(Outdoor) มีการสลายตัวประมาณปีละ 1 ไมครอน(ฉะนั้นอายุงานเกิน 20 ปี) ส่วนการชุบสังกะสีหรือชุบซิ้งค์คนไทยมักจะหมายถึงการชุบอิเลกโคตรเพลทติ้ง หรือการชุบสังกะสีด้วยไฟฟ้า มีความหนาประมาณ 5- 10 ไมครอน เหมาะสำหรับงานที่ไม่เน้นการป้องการเกิดสนิมมากนักหรือสภาวะไม่รุนแรงให้เกิดสนิมได้ง่ายหรืออยู่ในร่ม(Indoor) หากอยู่สภาพกลางแจ้ง(Outdoor)จะเป็นสนิมได้ง่าย

      ประโยชน์ของการชุบเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน อายุการใช้งานที่ยาวนาน , ค่าใช้จ่ายต่ำ , กระบวนการผลิตที่รวดเร็ว , มีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ , เป็นทางเลือกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน , ให้การป้องกันพื้นผิวทั้งภายใน-นอก, พื้นที่ที่เป็นมุมอับ

      ชุดอุปกรณ์ตัวคลิปล็อคยึดแผ่นตะแกรง มี 2 วัสดุ ได้แก่ คลิปล็อคชุบสังกะสีจุ่มร้อนทนสนิม Hot Dip Galvanized Steel และ คลิปล็อคแสตนเลสสตีลเกรดสูง 316 (Stainless Steel SUS316) เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ใช้พื้นที่ต่างกัน โดยส่วนมากแล้วคลิปล็อกแสตนเลสใช้สำหรับยึดแผ่นตะแกรงไฟเบอร์กล๊าสหรือแผ่นงานแสตนเลส ส่วนตัวล็อคที่ทำจากเหล็กชุบซิงค์ออกแบบมาให้สำหรับยึดแผ่นตะแกรงเหล็กเข้ากับฐานรองตีนเป็ดด้านล่าง โดยสามารถปรับระดับแนวการยึดได้ ทั้งสองแบบใช้งานคล้ายๆกัน โดยลูกค้าสามารถเลือกแต่ละแบบให้เข้ากับช่องรูของตะแกรง (Mesh Size)ความสูง (Hight) และลักษณะพื้นที่ที่ต้องการนำแผ่นตะแกรงไปติดตั้ง

        ตัวคลิปล็อคยึดจับแผงตะแกรงเหล็ก/ไฟเบอร์กล๊าสราคาโรงงาน Saddle Fixing Clip Lock Fastenal Fastener (ตัวล็อคตีนเป็ด) ตัวคลิปล็อคยึดแผ่นตะแกรง มี 2 ประเภทวัสดุ ทั้งแบบ Stainless Steel SUS316 และแบบ Hot Dip Galvanized Steel

  1. ราคาที่นำเสนอข้างต้น ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าจัดส่ง (เป็นราคามารับเองที่โรงงาน)
        Price excluded VAT and Delivery , Deposit 50% for made to order
  2. ความหมายของแผ่นจมูก แผ่นครอบบันได และแผงกันลื่น :
        1) แผ่นปิดครอบจมูกบันได Nosing Cover ใช้สำหรับ ปิดเฉพาะจมูกบันได *สีเหลือง
        2) แผ่นครอบบันได Stair Cover ใช้ปิดทั้งจมูกและแผ่นด้านบนบันได *จมูกเหลืองตัวเทา/ดำ
        3) แผงกันลื่น Sheet Cover ใช้เป็นแผ่นปิดผิวรองพื้นกันลื่น ไม่มีจมูก *สีเทา/เหลือง